ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

หากพูดถึงชาวจีนในประเทศไทย สิ่งเดียวที่นึกถึงได้คือความขยันหมั่นเพียรในการสร้างเนื้อสร้างตัว เพราะการเข้ามาในประเทศไทยแบบ “เสื่อผืน หมอนใบ” นั้นเสมือนเป็นการลุยหมดหน้าตักครั้งสุดท้าย ไม่รวยก็ตาย มีทางเลือกแค่นั้น การทำงานหนักจึงเป็นหนทางเดียวในการพิสูจน์คุณค่าของตนเองในแผ่นดินผืนใหม่แห่งนี้

“ฮวย จุ่ง ล้ง” หรือแปลเป็นไทยว่า “ท่าเรือกลไฟ” นั้น เปรียบเสมือนพื้นที่รองรับก้าวแรกที่ได้เหยียบลงบนแผ่นดินสยาม ดินแดนแห่งโอกาสของชาวจีนโพ้นทะเล

“ซาน เหอ หยวน” อาคารก่ออิฐถือปูนพื้นไม้สัก ที่เรียงต่อกันเป็นรูปตัว U มีลานเอนกประสงค์อยู่ตรงกลาง ถูกใช้เป็นอาคารสำนักงาน โชว์รูมแสดงสินค้านำเข้าจากประเทศ และที่พักของคนงานชาวจีนในยุคที่เพิ่งทำสนธิสัญญาเบาว์ริ่งกันใหม่ๆ

“ศาลเจ้าแม่หม่าโจ้ว” ที่ทำให้ชาวจีนรู้สึกปลอดภัยทั้งขาไปและขากลับ ทั้งเข้ามาและออกไป

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัยล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

แต่ด้วยเวลาที่ล่วงเลยไปกว่า 160 ปี โกดังสังกะสี ปูนเก่า และไม้สัก ก็ทรุดโทรมตามกาลเวลา ฝุ่นผงหนาได้บดบังคุณค่าที่แท้จริงไว้หมดสิ้น จนกระทั่งเจอเนอเรชั่นล่าสุดของตระกูล “หวั่งหลี” ได้ใช้น้ำพักน้ำแรงของตนเองปัดฝุ่นผงออกไป เพื่อเผยให้เห็นคุณค่าของบรรพบุรุษอีกครั้งในชื่อ “ล้ง 1919 Heritage at Heart ท่าประวัติศาสตร์ศิลป์ไทย-จีน ริมแม่น้ำเจ้าพระยา”

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ในยุคสมัยที่คนรุ่นลูกรุ่นหลานเริ่มสร้างเนื้อสร้างตัวในหนทางของตนเองได้ หลายๆคนก็ได้กลับมาเห็นในสิ่งที่ตนเองมีอยู่ โรงแรมบูทีคที่มีพื้นผิวของอาคารเก่าเริ่มผุดขึ้นมาเรื่อยๆ การรื้อถอนอาคารเก่าเพื่อสร้างเป็นคอนโดมิเนียมวิวแม่น้ำเจ้าพระยาก็เป็นตัวเลือกที่จำเป็นของหลายๆตระกูลที่มีที่ดินอยู่ติดแม่น้ำ แต่สิ่งที่ตระกูลหวั่งหลีมองเห็น คือพื้นที่สาธารณะ ที่จะให้โอกาสคนรุ่นใหม่ได้สร้างตัวตนในเส้นทางศิลปะและเสียงดนตรี โดยมีผลงานจากความขยันหมั่นเพียรของบรรพบุรุษชาวจีนเป็นฉากหลัง เป็นคุณค่าจากการทำงานหนักที่คนรุ่นใหม่ควรเอาเป็นเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่ง

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

หลังจากลงเรือข้ามฟากที่ตลาดคลองสาน เดินผ่านตลาดคลองสานออกมาแล้วเลี้ยวขวาขึ้นมาจนถึงถนนสมเด็จเจ้าพระยา เดินชมวิถีชีวิตชุมชนเก่าแก่ของฝั่งธนบุรีขึ้นมาเรื่อยๆจนถึงซอยเชียงใหม่ มาถึงตรงนี้ก็จะเริ่มเห็นอาคารพานิชย์แบบจีนที่มี “ประตูบานเฟี้ยม” ประตูบานพับอันเป็นลักษณะเฉพาะของสถาปัตยกรรมจีน ซึ่งของ original จริงๆเริ่มเหลือน้อยลงทุกที เมื่อเดินเข้ามาจนสุดซอยก็จะพบอาคารแบบจีนตั้งอยู่ขวามือ ปูนเก่าและบานหน้าต่างให้ความรู้สึกคลาสสิคเหนือกาลเวลา พร้อมกับโลโก้ของโครงการ “ล้ง 1919” ที่วาดลงไปบนพื้นผิวโดยไม่รบกวนความขรุขระอันเป็นความงามที่เกิดจากกาลเวลาของที่แห่งนี้

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

การพัฒนาพื้นที่ประวัติศาสตร์แห่งนี้ ถูกคิดและวางแผนด้วยความคิดเพื่อการอนุรักษ์อย่างแท้จริง อะไรที่มีอยู่แล้วก็ซ่อมแซมให้แข็งแรงคงสภาพนั้นไว้ อะไรที่จะสร้างใหม่เช่น ห้องน้ำ ร้านค้า ก็ทำออกมาได้อย่างกลมกลืนและสมฐานะ ลบความรู้สึกว่าที่นี่จะเป็นแค่ “ของใหม่ ทำเก่า” ไปหมดสิ้น เพราะทุกอย่างเกิดขึ้นจากของเก่าและด้วยความเคารพในของเก่าอย่างแท้จริง เห็นได้จากจิตรกรรมฝาพนังตามขอบประตูและหน้าต่างอันเป็นผลงานของช่างฝีมือในยุคนั้นที่ถูกบูรณะซ่อมแซมโดยใช้สีและหมึกเหมือนกับที่ช่างในสมัยนั้นใช้จริงๆ และร้านอาหาร “Rong Si” ที่ใช้โครงสร้างเดิมของโกดังเก่าที่มีชื่อว่า “Wharf No.41” มาเป็นความสวยงามภายในร้าน

ในพื้นที่ลานเอนกประสงค์นั้นก็ถูกใช้อย่างที่ควรจะเป็นพื้นที่สีเหลี่ยมผืนผ้าที่ทอดยาวจากอาคารทรง ซาน เหอ หยวน จนถึงโกดังริมน้ำ เป็นพื้นที่ Outdoor อาคารและโกดังที่ล้อมรอบ ถ้าหากรู้สึกเหนื่อยอยากพักแข้งพักขาล่ะก็ ให้หยิบเครื่องดื่มแก้วโปรดของคุณมานั่งเหม่อไปกับสายน้ำและแสงไฟที่บริเวณท่าเรือ ฮวย จุ่ง ล้ง ได้โดยที่ยังได้ยินเสียงจากเวทีทุกเม็ด

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

ล้ง 1919 พบกับคุณค่าของบรรพบุรุษจีนโบราณ ที่ส่งต่อผ่านงานศิลปะและเสียงดนตรีร่วมสมัย

แนะนำให้ไปในช่วงใกล้ๆพระอาทิตย์ตกดิน คุณจะได้พบกับร้านรวงในโครงการที่เปิดเต็มที่ในเวลานั้น บรรยากาศยามเย็นแสนโรแมนติก และอากาศที่ไม่ร้อนจนน้ำแข็งในกาแฟเย็นจะละลายเร็วเกินไป

คุณสามารถไป ล้ง 1919 ได้อยู่หลายเส้นทาง:

1. นั่งเรือ:
ทาง ล้ง 1919 มีบริการ Shuttle Boat ให้คุณใช้ได้อย่างสะดวกสบาย เพียงมองหาเรือที่มี โลโก้ ล้ง 1919 ตาม ท่าเรือสี่พระยา หรือ ท่าเรือสาธร มันก็จะไปคุณไปสู่ ท่าเรือหวั่งหลีในเพียงไม่กี่อึดใจ

2. นั่งรถไฟฟ้า BTS:
สถานี BTS ที่ใกล้ที่สุดคือ สถานี กรุงธนบุรี จากตรงนั้นคุณสามารถเลือกนั่ง taxi หรือ รถเมล์ (สาย 84,3 ต่อ สาย 6 ลง โรงพยาบาล สมเด็จเจ้าพระยา) ก็ได้

3. นั่งรถ:
หากคุณขับรถไป บอกไว้ก่อนว่าที่จอดรถมีไม่มาก สามารถจอดได้ฟรีชั่วโมงแรก และจะคิดเพิ่ม 50 บาท ต่อเศษชั่วโมงถัดมา หากคุณใช้บริการถึง 500 บาท สามารถแสตมป์บัตรจอดรถได้ ฟรี 3 ชั่วโมง

เครดิต: siam2nite.com

 9,411 ,  3 

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

Siam Scope Magazine