จะผิวสวยเด้งเต่งตึง ผิวหมองใบหน้าไม่ผ่องใส พุงออก อารมณ์หดหู่ สมองล้า สั่งงานช้า เรื่องเหล่านี้ล้วนเกี่ยวกับฮอร์โมนในร่างกายของเราทั้งนั้น ไลฟ์เซ็นเตอร์บล็อก ชวนมาทำความรู้จักฮอร์โมนในร่างกายของเราให้มากขึ้นกันอีกซักนิด เพื่อทำความเข้าใจกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายให้มากขึ้น
ฮอร์โมน คืออะไร
ฮอร์โมน คือ สารเคมีที่ร่างกายของเราสร้างขึ้นมา มีหน้าที่นำส่งสารเคมีจากเซลล์หนึ่งไปยังเซลล์อื่นๆ ฮอร์โมนจะเกี่ยวข้องกับการเจริญเติบโต การสลายตัวของเซลล์ รวมถึงระบบภูมิคุ้มกัน นอกจากนั้น ฮอร์โมนยังเกี่ยวข้องโดยตรงกับความอ่อนเยาว์ ความสาว การผลัดของเซลล์ผิว รวมทั้งการสร้างเซลล์ใหม่ด้วย
รู้จัก 4 ฮอร์โมน ตัวช่วยที่ทำให้ “สวย” อย่างเป็นธรรมชาติ
ฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับความสาวมี 4 ชนิดด้วยกัน ได้แก่ เอสโตรเจน เมลาโทนิน เทสโทสเตอโรน และโกรทฮอร์โมน
-
ฮอร์โมนเอสโตรเจน
หน้าที่ของฮอร์โมนชนิดนี้ คือการกระตุ้นการสร้างคอลลาเจนและอีลาสติน ให้ผิวเต่งตึงสดใสมีชีวิตชีวา เมื่อใดที่ร่างกายผลิตฮอร์โมนชนิดนี้น้อยลง ผิวสวยแย่แน่ๆ เพราะจะทำให้ผิวแห้งกร้าน ไม่อุ้มน้ำ ผลที่ตามมาคือ การเกิดรอยย่น ตีนกา และริ้วรอยต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น ผิวแห้งๆ ยังทำให้ผิวเป็นขุย เกิดอาการแพ้ และอาการระคายเคืองได้ง่ายขึ้นอีกด้วย
-
ฮอร์โมนเมลาโทนิน
ฮอร์โมนชนิดนี้จะช่วยต้านอนุมูลอิสระ ทำให้เซลล์ผิวมีความแข็งแรง ชะลอการเกิดริ้วรอย และยังช่วยให้ร่างกายนอนหลับสนิท เมื่อได้พักผ่อนเพียงพอ ผิวพรรณก็จะสดชื่น และเซลล์ใต้ชั้นผิวก็จะทำงานอย่างเป็นระบบ ปัญหาคือร่างกายเรา จะสร้างเมลาโทนินที่ว่านี้น้อยลงเมื่ออายุมากขึ้น
-
ฮอร์โมนเทสโทสเตอโรน
เมื่อใดที่ฮอร์โมนนี้มีระดับเพิ่มสูงขึ้น สิ่งที่ตามมาก็คือสิว และขน ตัวการร้ายที่ทำให้รูขุมขนเกิดการอุดตัน แต่ฮอร์โมนชนิดนี้ก็มีส่วนดีก็คือการทำให้ผิวชื้นเต่งตึงในเวลาเดียวกัน เมื่อใดที่ฮอร์โมนชนิดนี้ลดลงเตรียมใจไว้เลยว่าจะต้องเจอกับปัญหาผิวบาง ตกกระง่าย ผิวหย่อนคล้อย สังเกตได้ง่ายๆ ก็บริเวณรอบดวงตานี่ล่ะที่ชัดเจนที่สุด
-
โกรทฮอร์โมน
ฮอร์โมนที่อยู่กับเรามาตั้งแต่วัยเยาว์ มีหน้าที่ทำให้เราเติบโตนั่น ฮอร์โมนตัวนี้จะช่วยสร้างมวลกระดูกและกล้ามเนื้อ ทำให้เราสูง และมีกล้ามเนื้อที่แข็งแรง รวมถึงเชื่อมโยงการทำงานของระบบประสาท และช่วยกระตุ้นการสร้างเซลล์ผิวใหม่ ฮอร์โมนชนิดนี้จะทำงานอย่างเต็มที่จนถึงช่วงอายุประมาณ 20 ปี และจะทำงานลดลงเมื่อเราอายุขึ้นเลข 3 โดยจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ปริมาณโกรทฮอร์โมนที่ลดลงนั้นส่งผลต่อสุขภาพและความงามอย่างมาก เพราะเมื่อใดที่ร่างกายสร้างโกรทฮอร์โมนน้อยลง ผิวพรรณก็จะเสื่อมสภาพลงอย่างรวดเร็ว ขาดการสร้างผิวใหม่ทดแทน ผิวจะซีด หย่อนคล้อย ทั้งบริเวณหนังตา และแก้ม ทั้งการทำงานของกล้ามเนื้อในทุกๆ ส่วนก็จะทำงานได้น้อยลง
การเรียนรู้เรื่องฮอร์โมนภายในร่างกายเป็นการทำความรู้จักกับการเปลี่ยนแปลงของร่างกายในเชิงลึก เพื่อทำความเข้าใจถึงการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
source: sanook
4,253 , 4