ภาษีธุรกิจเฉพาะในประเทศไทย คือ ภาษีทางอ้อมอย่างหนึ่งที่ถูกประกาศใช้ในปี 2535 เพื่อใช้ทดแทนภาษีธุรกิจ ใจความสำคัญคือ ธุรกิจบางประเภทไม่ได้ถูกรวมอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฎหมายการชำระภาษี (VAT) ซึ่งธุรกิจเหล่านั้นจะตกอยู่ภายใต้การบังคับใช้กฏหมายภาษีธุรกิจเฉพาะ ทั้งนี้ ธุรกิจของคุณอยู่ภายใต้กฏหมายว่าด้วยการชำระภาษีธุรกิจเฉพาะ หรือไม่นั้น พิจารณาจากกฎเกณฑ์ดังต่อไปนี้
- ธุรกิจการขายอสังหาริมทรัพย์ในลักษณะการค้าหรือหากำไร โดยมิได้คำนึงถึงวิธีการที่ได้มาซึ่งทรัพย์สินนั้นๆตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กำหนดโดยพระราชกฤษฎีกา
2. ธุรกิจการธนาคาภายใต้กฎหมายที่ควบคุมธนาคารพาณิชย์หรือกฎหมายเฉพาะอื่น
3. โรงรับจำนำตามกฎหมายว่าด้วยโรงรับจำนำ
4. ธุรกิจที่มีการทำธุรกรรมประจำวันคล้ายธนาคารพาณิชย์ เช่น การให้กู้ยืมเงินค้ำประกัน การแลกเปลี่ยนสกุลเงิน, การซื้อหรือขายตั๋วเงิน หรือการโอนเงินไปต่างประเทศโดยวิธีการที่แตกต่างกัน
5. ขายหลักทรัพย์ในตลาดหลักทรัพย์ตามกฎหมายว่าด้วยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
6. ประกันชีวิตตามกฎหมายว่าด้วยการประกันชีวิต
7. ธุรกิจอื่น ๆ ตามพระราชกฤษฎีกากำหนด
ธุรกิจที่อาจตกอยู่ภายใต้เงื่อนไขต้องชำระภาษีธุรกิจเฉพาะในประเทศไทย
ที่มา: https://www.siam-legal.com/thailand-law/specific-business-tax-in-thailand/
การลงทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะในประเทศไทย:
ผู้ที่อยู่ภายใต้กฎหมายภาษีธุรกิจเฉพาะจะต้องจดทะเบียนนิติบุคคลของพวกเขาภายใน 30 วันของการดําเนินกิจการ ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่กรุงเทพมหานคร กรณีเป็นชาวต่างชาติ บุคคลซึ่งเป็นตัวแทนของผู้ประกอบการต้องรับผิดชอบในการจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะที่สำนักงานสรรพากรอำเภอ ภายใน 15 วัน เป็นประจำทุกเดือนไม่ว่ากิจการจะมีรายได้หรือไม่ก็ตาม
เครดิต: siam-legal.com/ konradlegal.com
5,635 , 4