ครม. อนุมัติตั้ง มหาวิทยาลัยอมตะ มุ่งเน้นหลักสูตรการพัฒนาหุ่นยนต์+ยานยนต์แห่งอนาคต

ครม. อนุมัติตั้ง มหาวิทยาลัยอมตะ มุ่งเน้นหลักสูตรการพัฒนาหุ่นยนต์+ยานยนต์แห่งอนาคต

ครม. อนุมัติตั้ง มหาวิทยาลัยอมตะ มุ่งเน้นหลักสูตรการพัฒนาหุ่นยนต์+ยานยนต์แห่งอนาคต

ครม. มีมติเห็นชอบในการจัดตั้ง “มหาวิทยาลัยอมตะ” ในนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นการร่วมมือกับ “มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน” ที่จะเปิดหลักสูตรการเรียนการสอนด้านวิศวกรรมศาสตร์ขั้นสูงในระดับปริญญาโท เพื่อรองรับ อีอีซี การพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ให้เป็นเมืองแห่งอุตสาหกรรมยานยนต์และการพัฒนาหุ่นยนต์ในอนาคต

พล.ท.สรรเสริญ แก้วกำเนิด โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี ได้แถลงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) ว่า ครม. มีมติเห็นชอบตามที่กระทรวงศึกษาธิการ (ศธ.) เสนอให้มีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยอมตะ (Amata University) และจัดตั้งหลักสูตรการเรียนการสอนด้าน Master of Science (M.S.) in Engineering (Intelligent Manufacturing System) ของมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันในประเทศไทย 

ด้านกระทรวงศึกษาธิการระบุว่า มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน (National Taiwan University : NTU) เป็นมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในไต้หวัน มีวิทยาเขตหลักตั้งอยู่ในเมืองไทเปและจัดเป็นมหาวิทยาลัยอันดับ 1 ในไต้หวัน จากการจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลกของ QS University Rankings ซึ่งได้ติดอันดับอยู่ใน TOP 100 ของโลกทุกปี และในปี 2017 จากการจัดดับโดย QS มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันก็อยู่ในอันดับที่ 76 ของโลก สำหรับสาขาวิชาที่กำลังจะเข้าเปิดการเรียนการสอนในประเทศไทยนั้นก็อยู่ในอันดับที่ 23 ของโลก

ครม. อนุมัติตั้ง มหาวิทยาลัยอมตะ มุ่งเน้นหลักสูตรการพัฒนาหุ่นยนต์+ยานยนต์แห่งอนาคต

หลักสูตรการเรียนการสอน

สำหรับหลักสูตรการเรียนการสอนที่มหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวันจะมาเปิดสอนในไทยก็คือ Master of Science (M.S.) in Engineering (Intelligent Manufacturing System) ซึ่งจะเป็นการเน้นการเรียนด้านการพัฒนาหุ่นยนต์ที่จะเข้ามาช่วยงานสายการผลิตในรูปแบบระบบอัตโนมัติ (Future of Automation) และอุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต (Autonomous Vehicle) เพื่อเป็นการรองรับการพัฒนาพื้นที่เมืองอัจฉริยะ (Smart City) ในพื้นที่ระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก หรือ อีอีซี นอกจากนี้ยังเป็นการพัฒนากำลังคนด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลนีเพื่อตอบสนองต่อความต้องการในอุตสาหกรรมเป้าหมาย (S-Curve) อีกด้วย

หลักสูตรการเรียนการสอนนี้จะใช้มาตรฐานเดียวกับมหาวิทยาลัยแห่งชาติไต้หวัน ไม่ว่าจะเป็นด้านอาจารย์ผู้สอน การเข้าถึงข้อมูลทางวิจัย ชั่วโมงในการเรียนทั้งด้านทฤษฎีและด้านการปฏิบัติ เป็นต้น จะมีการจัดการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษและภาษาจีน โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนทั้งหมด 2 ปี (ตามหลักสูตรปริญญาโท) สถาบันการศึกษาแห่งนี้จะภูดจัดตั้งขึ้นในพื้นที่ของนิคมอมตะนคร จังหวัดชลบุรี ของ วิกรม กรมดิษฐ์

อุตสาหกรรมเป้าหมาย

ทั้งนี้ ครม. ยังได้มีการยืนยันอีกด้วยว่ามหาวิทยาลัยที่จะถูกจัดตั้งขึ้นนี้จะจัดตั้งในพื้นที่ อีอีซี และจะไม่มีการแย่งนักศึกษาจากมหาวิทยาลัยไทยอย่างแน่นอน เนื่องจากต้องการมุ่งเน้นในสาขาวิชาที่ประเทศไทยยังขาดแคลน และมุ่งเน้นในสาขาวิชาเพื่อ 10 อุตสาหกรรมเป้าหมาย ได้แก่

  1. อุตสาหกรรมยานยนต์แห่งอนาคต
  2. อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์อัจฉริยะ
  3. อุตสาหกรรมการเกษตรและเทคโนโลยีชีวภาพ
  4. อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
  5. อุตสาหกรรมท่องเที่ยวกลุ่มรายได้ดีและการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ
  6. อุตสาหกรรมหุ่นยนต์
  7. อุตสาหกรรมการบินและโลจิสติกส์
  8. อุตสาหกรรมการแพทย์ครบวงจร
  9. อุตสาหกรรมเชื้อเพลิงชีวภาพและเคมีชีวภาพ
  10. อุตสาหกรรมดิจิทัล

เครดิต: eeco.or.th/ commandcenter.moi.go.th

 10,898 ,  4 

No Comments Yet

Leave a Reply

Your email address will not be published.

You may use these HTML tags and attributes: <a href="" title=""> <abbr title=""> <acronym title=""> <b> <blockquote cite=""> <cite> <code> <del datetime=""> <em> <i> <q cite=""> <s> <strike> <strong>

Siam Scope Magazine